ประวัติความเป็นมา

หลวงพ่อตากแดด ประดิษฐานอยู่ภายในวัดสิงห์คูยาง ตำบลโคกสำโรง อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี เป็นพระพุทธรูปคู่วัดสิงห์คูยาง เนื้อหินทรายแกะสลัก หน้าตัก ๔๙ นิ้ว วางตั้งอยู่กลางแจ้งบนแท่นฐานอิฐโบราณ ข้างต้นจันทน์ ด้านหน้าวิหารเก่า จึงเรียกกันว่า หลวงพ่อตากแดด สันนิษฐานว่าสร้างก่อน พ.ศ.๒๓๐๐ เพราะถูกพม่าตัดเป็นท่อน เพื่อค้นหาทองคำ ครั้งสงครามกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ.๒๓๑๐) มีความศักดิ์สิทธิ ประชาชนในเขตอำเภอโคกสำโรงและใกล้เคียงที่เคยผ่านมาให้ความเคารพ มากราบไหว้ บนบาน อธิษฐานขอพร ก็สมปรารถนา และจะแสดงให้คนที่ไม่เคารพได้พบกับเหตุการณ์บางอย่างกับตัวเอง แม้นขณะที่ยังเป็นองค์ไม่สมบูรณ์

วัดสิงห์คูยาง

ต่อมา พ.ศ. ๒๔๙๗ คุณยายอู้ด วงษ์นนท์ มีศรัทธาสละทรัพย์ จ้างช่างพลอย ปั้นเป็นองค์สมบูรณ์ ปางมารวิชัย ศิลปะอู่ทอง เคยสร้างหลังคาแต่มีเหตุพังลงแล้วไม่ได้ทำอีก (มีคำพูดต่อกันว่า หลังคาที่ทำนั้นถูกฟ้าผ่า จึงไม่มีใครกล้าทำอีก) ประชาชนได้มากราบไหว้อธิษฐานขอพรก็สำเร็จสมประสงค์ จึงได้จัดหาลิเกไทย เป็นคณะใหญ่บ้าง พวงมาลัยบ้าง ละครรำไทย ทั้งที่รำจริง และละครรำ(ชุดพลาสติก) มาแก้บน ตามที่ได้กล่าวคำสินบนไว้

เป็นพระพุทธรูปคู่วัดสิงห์คูยาง เนื้อหินทรายแกะสลัก หน้าตัก ๔๙ นิ้ว วางตั้งอยู่กลางแจ้งบนแท่นฐานอิฐโบราณ ข้างต้นจันทน์ ด้านหน้าวิหารเก่า จึงเรียกกันว่า หลวงพ่อตากแดด สันนิษฐานว่าสร้างก่อน พ.ศ.๒๓๐๐